บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ไปแสดงความเห็นที่อื่นเถอะ


คราวนี้มาถึงคนสุดท้ายของบทความเรื่อง “สติปัฏฐานกับสติสัมปชัญญะ” ใน gotoknow  คนนี้ ใช้ชื่อว่า แสดงความคิดเห็น [IP: 58.9.106.236] 03 พฤศจิกายน 2553 18:00 ท่านได้ให้ความคิดเห็นของท่าน ดังนี้

ขอแสดงความคิดเห็น

ไม่ได้พูดตามหลักวิชาการ ซึ่งถ้าจะถูกว่าโง่หรือเพ้อเจ้ออีกคน หรือเข้ามาผิดที่ ก็ขออโหสิ

แต่ที่พูดเพราะอยากให้แง่คิดแก่คนจำนวนมาก ที่อาจเข้ามาอ่านพิจารณา มุมมองหนึ่งของการปฏิบัติธรรม เพื่อความป้องการการเกิดมิจฉาทิฐิ

ผิดถูกประการใดก็พิจารณาเอาเองเถิด ผู้เขียนก็เขียนตามภูมิธรรมอันน้อยนิดของตนเอง

1. การปฏิบัติธรรมขั้นพื้นฐานจริงๆ แล้วต้องเริ่มจากการรักษาศิล ศิล 5 เป็นอย่างต่ำ

ถ้ารักษาศิล 5 ไม่ได้ ใช้วาจาที่ประกอบด้วยโทสะดูหมิ่นผู้อื่น (ความโกรธมีได้ไม่แปลก เพราะยังเป็นมนุษย์ปุถุชน อันนั้นเข้าใจ แต่ควรควบคุมความโกรธให้อยู่ในกรอบของศิล 5) ก็คงยากที่จะพูดถึงหัวข้อธรรมที่ลึกซึ้ง

เพราะอะไร เพราะศิล 5 ช่วยให้จิตใจสงบ ขาดศิล 5 ลำพังสมาธิก็เกิดยาก อย่าพูดถึงขั้นวิปัสสนาเลย

2. พูดถึงธรรมมะ ไม่ว่าสายไหนๆ ถ้าเข้าใจ "หลัก" ก็ไปได้เหมือนๆ กัน ขณะเดียวกันถ้าไม่เข้าใจ "หลัก" ก็จอดได้เหมือนๆ กัน

ดังนั้น ไม่ควรดูหมิ่นฟันธงว่า แนวทางใดถูกแนวทางใดผิด ยกตัวอย่างเช่น สายยุบหนอพองหนอ สามารถเป็นทั้งสมถะ และสามารถพลิกเป็นวิปัสสนาได้เช่นเดียวกัน

ถ้าหากดูยุบหนอพองหนอด้วยการจดจ่อจิตไหลไปแช่อยู่กับท้องที่พองยุบ เบื้องต้นก็จะได้เป็นสมถะ หรือสมาธิ...

ถึงตรงนี้ หากจิตเกิดเป็นสมาธิถึงขั้น สามารถมีได้ทั้งอภิญญาต่างๆ รวมถึงการเห็นนรก สวรรค์ เห็นปากฎการณ์ที่เหลือเชื่อต่างๆ ตรงนี้เองที่ท่านว่า อย่าไปยึดถือมัน ไม่มีประโยชน์ ไม่พาหลุดพ้นได้จริง

แต่ถ้าผู้ใดอยากมีไว้เพื่อเป็นของเล่นทางจิต นั่นก็อีกเรื่อง แต่ถ้าหยุดแค่นั้นก็เรียกว่ายังไม่เดินปัญญา เพราะสิ่งที่ได้ไม่ได้เป็นไปเพื่อลดละอัตตาตัวตนของเรา

(การเห็นเหล่านี้ถามว่าเห็นจริงมั๊ย ก็ขอตอบว่า เห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็นมีทั้งจริง และไม่จริง ที่ว่าไม่จริงนั้นก็คือเป็นการปรุงแต่งของจิต)

และการเห็นนั้น จำไปมั๊ยว่าต้องหลับตา ขอตอบว่าไม่จำเป็น ถ้าจิตเป็นสมาธิ จะลืมตาหรือหลับตาก็เป็นสมาธิ)

ที่กล่าวมานั้นเป็นการเดินแบบสมาธิ.. แต่หากอยากหลุดพ้นก็ต้องเดินปัญญาด้วย การเดินปัญญาเป็นเช่นไร

ก็ขอตอบว่า.. เป็นการที่จิตเห็นไตรลักษณ์ของ รูปของนาม ของกายของใจ ของตัวเราเอง.. ที่นี่มาถูกถึงการเห็น (หากจะให้นั่งตีความ "คำศัพท์" ซึ่งเป็นสมบัญญัติ)

การ "เห็น" ในความหมายของวิปัสสนา หมายถึงการ "ตามรู้" สภาวะที่เกิดขึ้นกับรูปด้วยความตั่งมั่นและเป็นกลาง กับนามของตัวเราเอง (ไม่ใช่ตัวคนอื่น ถ้าออกนอกกายกับใจตนเองแล้ว ถือว่าผิดแนวทางการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์)

พูดภาษาธรรมมะคือ ใช้ตัว "ผู้รู้" ในการตามเห็นรูปนามกายใจ ผู้รู้ คือ ผู้ที่รับรู้ขันธ์ 5 หรือทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับกายกับใจของตัวเรา

สรุปคือการใช้ "ผู้รู้" ตามดูสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกายกับใจนี่แหละเรียกว่า "การเห็น" ในการที่จะเจริญปัญญา ..

ยกตัวอย่างสายพองยุบ หากจะเจริญปัญญาคือการ ให้ "ผู้รู้ผู้ดู" คอยรู้สภาวะที่เกิดขึ้น ด้วยความเป็นกลาง ไม่ถลำลงไป (ถ้าถลำลงไปจดจ่อถือว่าเป็นสมถะ) เช่น รู้กาย ว่า ท้องพอง ท้องยุบ ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้...

ให้เห็นว่า กายมันทำงานของมันเอง มันไม่ใช่เรา ให้เห็นว่ากายกับใจมันแยกกัน...

ถามว่าการเห็นไตรลักษณ์นั้น จำเป็นต้องเห็นเฉพาะการพองยุบมั๊ย ตอบว่าไม่จำเป็น ในกรณีนี้เราใช้การ พองยุบเป็น "วิหารธรรม" หรือธรรมที่เป็นเครื่องอยู่

ในระหว่างที่ตามรู้ตามดูพองยุบนี้ อาจเกิดสภาวะอื่นๆ  เช่น เกิดความปวดเมื่อย ได้ยิน ได้กลิ่น เกิดความคิดฟุ้งซ่าน เกิดอารมณ์ต่างๆ แทรกเข้ามาในระหว่างที่ตามรู้กายมันพองยุบนี้ ก็ให้เราตามรู้สิ่งที่เกิดขึ้นไปเรื่อยๆ

ให้เห็นว่าทุกสภาวะ ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนดับไปทั้งนั้น นี่เป็นการพิจารณาสติปัฐานทั้ง 4 อย่างเลยทีเดียว

โดยเริ่มจากการพิจารณากาย ดูพองยุบเป็นวิหารธรรม (หรือใช้วิหารธรรมอื่นก็ได้ที่ถูกจริต ผู้เขียนจึงกล่าวว่า ไม่ว่าแบบไหน สายไหน ถ้าเข้าใจหลักก็ "ถุก" ได้เหมือนกัน)

ที่นี้การตามรู้ตามดู เหล่านี้นี้.. ทำให้เราได้เห็นไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ ต่อหน้าต่อตา เห็นมันดับไปต่อหน้าต่อตา (ไม่ใช่เกิดจากการคิดเอาๆ ว่านั่นไม่เที่ยง นั่นเกิดดับ แต่เป็นการเห็นจริงๆ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน)..

ดูไปๆ อย่างนี้ๆ จนจิตมันยอมรับความจริงในที่สุด จิตมันยอมรับของมันเอง ไม่ใช่เราคิดๆๆเอา

อะไรที่ยังคิดเอาอยู่ อันนั้นไม่ใช่ แต่ต้องแจ่มแจ้งออกมาจากใจ (นี่เรียกว่าเป็นปัจตัง รู้ได้ด้วยตัวเอง)

จะเห็นว่า จิตมันทำงานได้ของมันเอง มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับตามเหตุปัจจัย รวมทั้งจิตเห็นว่าถูกอย่างมีแต่เกิดๆๆและดับๆๆ ไม่เห็นมีเรา มีเขา มีตัวตน บุคคลเราเขา จะเห็นว่าตัวเราไม่มี

กายก็ไม่ใช่เรา จิตก็ไม่ใช่ ก็หมดความยึดถือ (อวิชชา หรือความไม่รู้ ก็คือ การที่เห็นว่ากายกับใจเป็นตัวเรา มีตัวเรา ยึดถือในการและใจ นี่คืออวิชชา เมื่อละความเห็นเหล่านี้ ว่ามีกายมีใจ เมื่อละความยึดถือกายยึดถือใจได้ ก็เหมือนดับอวิชชาได้ อวิชชา ก็คือ สมุทัย หรือเหตุความทุกข์ เมื่อละเหตุความทุกข์ได้ ก็สามารถบรรลุธรรมได้)

ดังนั้น สติปัฐานสี่ เป็นหนทางแห่งความดับทุกข์เป็นแน่แท้ ไม่ว่าจะเดินมาทางสายไหน (ตามจริต) แต่หาไม่ขึ้นวิปัสสนา ทำสติปัฐฐาน 4 แล้วไซร้ จะไม่หมดความยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวเราฉันนั้น

พระโสดาบันและพระ สกิทาคามีคือผู้ที่ "ละความเห็นผิด" ว่าได้ กาย และใจเป็นของเรา (ไม่มีตัวกูของกู) แต่ยัง "ยึดถือ" กายและใจอยู่

คือ เห็นว่ากายและใจไม่ใช่เรา แต่ยังรู้สึกว่า กายและใจใช้แสวงหาความสุขได้อยู่ คือยังแต่งงาน ยังมีครอบครัว ยังมีกิเลสอยู่ครบถ้วน แต่จะถูกคุมอยู่ใน ศิล ได้อย่างหมดจรด

พระอนาคมีคือผู้ ละความ "ยึดถือ" กายไปแล้ว แต่ยัง "ยึดถือ" ใจอยู่

ดังนั้น ท่านจึงเห็นว่ากายมีแต่ความทุกข์ หมดกามตันหา แต่ยังยึดถือ "ใจ" อยู่ คือมีกิเลสอย่างละเอียด เช่น ยังมีมานะ อยู่ คือมีการเทียบเขาเทียบเรา แต่เทียบในลักษณะเป็นต้นว่า ตัวเรายังไม่ดีเท่าครูบาอาจารย์ เป็นต้น

พระอรหันต์คือ ผู้ที่ ละความ "ยึดถือ" ใจแล้ว คือความเห็นว่าใจไม่ใช่เรา มนุษย์เรา ถ้าหากว่าไม่ยึดถือใจตัวเองซะแล้ว ในโลกนี้ก็ไม่มีอะไรที่ยึดถือหรือเดือดร้อน เพราะทุกคนต่างดิ้นรถทำทุกอย่างสุดท้ายเพื่อให้ใจเรามีความสุข เพื่อตอบสนองตัณหาทางใจ กันทั้งนั้น..

ดังนั้นแล้ว สติปัฐานสี่ คือหนทางอันวิเศษ อันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ชาวพุทธเรามีบุญแล้วที่เกิดมาแล้วได้ยินคำนี้ จงเร่งหน้าปฏิบัติเถิด ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ดวงตาเห็นธรรม

ขออโหสิกรรมให้กับทุกท่านที่ข้อเขียนนี้อาจทำให้เกิดจิตอกุศลใดๆ


ผมอ่านดูแล้ว แกคงเข้ามาแสดงความคิดเห็นอย่างของแกเอง แล้วก็ลงท้ายด้วย “ขออโหสิกรรมให้กับทุกท่านที่ข้อเขียนนี้อาจทำให้เกิดจิตอกุศลใดๆ” ที่ผมเกลียดอยู่พอดี 

มันจะมาเขียนทำไม เขียนแล้วก็ขออโหสิกรรม  ก็อย่าเขียนเสียก็สิ้นเรื่อง ผมเลยตอบไป ดังนี้ (03 พฤศจิกายน 2553 21:06)

เรียน คุณแสดงความคิดเห็น

ไปแสดงความคิดเห็นที่อื่นดีกว่า ที่ผมเขียนไปข้างบน กล่าวคือ "สติปัฏฐาน 4 กับสติสัมปชัญญะ" มันผิดหรือถูกอย่างไร มีหลักฐานอะไรก็ว่ามา

อย่ามามั่วว่า "พูดถึงธรรมมะ ไม่ว่าสายไหนๆ ถ้าเข้าใจ "หลัก" ก็ไปได้เหมือนๆ กัน"

ถ้าคุณมีความคิดเห็นอย่างนี้จริงๆ ก็แสดงว่า คุณไม่ได้อ่านหนังสือของสายนามรูปหรือสายพองยุบอย่างถ่องแท้ หรืออ่านแล้ว ไม่ได้รับความรู้เพราะระดับสติปัญญาของคุณเอง มันน้อย

สายพอง-ยุบกับสายนามรูป มาจากพระพม่า ดูถูกสายปฏิบัติธรรมอื่นๆ ของไทยว่า ไม่ถูกต้อง ผิด สายพอง-ยุบกับสายนามรูป ถูกเท่านั้น

ที่ผมมาเขียนบล็อกนี้ บันทึกนี้ ก็เพราะต้องการจะแก้ไขความผิดพลาดดังกล่าว โง่ก็ไปหาความรู้เพิ่ม แล้วค่อยเข้ามาให้ความเห็น

ตั้งแต่นั้นมา ท่านผู้นี้ ไม่ได้มาแสดงความคิดเห็นกับผมอีกเลย  สงสัยไปนั่งๆ นอนๆ เลียแผลอยู่

ให้มันรู้เบิ้งว่า ไผเป็นไผ.