บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

กิเกสหลัก 21 ประการ


บทความเรื่อง “สติปัฏฐานกับสติสัมปชัญญะ” ผมเขียนลงครั้งแรกที่ gotoknow ก็มีผู้เข้ามาอ่าน มาถกเถียงกันมากพอสมควร

แล้วผมก็ถูก gotoknow บล็อกไม่ให้เข้าไปเขียน  ผมก็เลยทิ้ง gotoknow บ้าง มีหลักฐานหลงเหลือเป็นไฟล์เอกสารอยู่บ้าง ผมก็จึงนำมาเขียนที่นี่

ตอนนี้ gotoknow อนุญาตให้เข้าไปเขียนได้อีก ผมจึงกลับไปเอาความเห็นที่ได้ถกเถียงกันมา มาวิพากษ์วิจารณ์อีกทีหนึ่ง เพื่อเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์

คนแรกที่ควรจะกล่าวถึงคือ คุณณัฐวร ปานจินดา [IP: 118.174.3.34] ได้เข้ามาเมื่อ 31 ตุลาคม 2552 15:42 ดังนี้

ผมสงสัยนิดหน่อยนะครับ ตามพระสูตร

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่าภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้มีสติ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นผู้มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกอย่างนี้ แลภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้มีสติ"

ตามพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวถึงพระอริยะเจ้าหรือปล่าวครับ ผมมีความเห็นว่า สภาวะอย่างนี้ ไม่น่าจะเป็นสภาวะที่เกิดกับปุถุชล คนธรรมดาที่กำลังทำความเพียรอยู่

ส่วนพระสูตรที่กล่าวถึง สัมปชัญญะ

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ"

ตรงนี้ ตามความคิดเห็นของผม น่าจะเป็น สภาวะ สติปัฏฐาน 4 ซึ่งเกิดจากการเจริญสติที่ถูกต้อง และเป็นเหตุของมรรคผลต่อไป

อีกข้อสงสัยนะครับ

ตามที่ผมได้ยินเกี่ยวกลับหลวงพ่อสด ท่านเจ้าคุณโชดกท่านไม่ได้เชิญหลวงพ่อสด เพื่อให้ท่านมายืนยันการปฏิบัติแบบ ยุบหนอ พองหนอ ไม่ใช่หรอครับ แต่หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ท่านไปขอกรรมฐานกับเจ้าคุณโชดกด้วยตัวเอง

ยังไงข้อมูลตรงนี้ผมก็ไม่ชัวร์นะครับ ผมฟังมาจากสายหลวงพ่อจรัญอีกที

ขอบคุณครับ

ผมได้ตอบคุณณัฐวรไปดังนี้ (02 พฤศจิกายน 2552 13:38)

ก่อนจะตอบคำถาม ผมขอสรุปเหตุผลในการเขียนบล็อกส่วนนี้ก่อน ต่อจากนั้น จึงจะข้ออธิบายพระสูตรที่ผมยกมาอย่างคร่าวๆ อีกทีหนึ่ง  ดังนี้

เหตุผลในการเขียนบล็อกนี้

บล็อกนี้เขียนขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อของพระพม่าที่ว่า การปฏิบัติธรรมในหัวข้อย่อยใด หัวข้อย่อยหนึ่งของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นการพิจารณาอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย สามารถทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้ นั้น เป็นความเชื่อที่ผิด เป็นไปไม่ได้
กล่าวให้ชัดอีกนิดหนึ่ง พระมหาสีสะยาดอว์ (The venerable Mahasi Sayadaw) ท่านคิดวิธีปฏิบัติธรรมมาได้แบบหนึ่ง ก็จับยัดเข้าเป็นสติปัฏฐาน 4 และเห็นว่า วิธีปฏิบัติธรรมแบบที่ท่านคิดได้นั้น สามารถทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้ ไม่เป็นความจริง

ในเมื่อมีความเชื่อผิดๆ คำอธิบายหรือข้อเขียนต่างๆ  จึงผิดเพี้ยนไปหมด  ขาดหลักฐานสนับสนุนในทางวิชาการ  ผมจึงมาวิเคราะห์ให้เห็นในบล็อกนี้

ถ้าจะให้เข้าใจดีขึ้น  ควรไปอ่านบันทึกแรกของบล็อกนี้ ที่ชื่อว่า "ความหลงผิดของพระพม่า" ด้วย  จะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้น

สำหรับข้อความของพระสูตรคามกัณฑ์ในมหาปรินิพพานสูตรฯ มีข้อความดังนี้

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุสาสนีของเราสำหรับเธอ

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่าภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้มีสติ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่  พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่  พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่  พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นผู้มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกอย่างนี้ แลภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้มีสติ

   ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ

จากข้อความของพระสูตรข้างต้น เห็นได้ว่า พระสูตรชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างสติกับสัมปชัญญะ  ภิกษุผู้มีสติก็ต้อง

พิจารณาเห็น/ตามเห็นกายในกายอยู่ [กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน]
พิจารณาเห็น/ตามเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ [เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน]
พิจารณาเห็น/ตามเห็นจิตในจิตอยู่ [จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน]
พิจารณาเห็น/ตามเห็นธรรมในธรรมอยู่ [ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน]

สำหรับภิกษุผู้มีสัมปชัญญะก็ต้องรู้ตัวว่า กำลังทำสิ่งใดอยู่ ซึ่งก็คือพิจารณาอิริยาบถย่อยและอิริยาบถใหญ่ที่พระพม่าชอบพิจารณานั่นเอง

ในหัวข้อที่เกี่ยวกับสติจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า พระพม่าผิดแน่นอน เพราะ พระสูตรกำหนดว่าต้อง "เห็น"  [seeing] แต่พระพม่าห้ามเห็น  เห็นอะไรเป็นผิดหมด

อีกประการหนึ่งก็คือ วิปัสสนานั้น แปลว่า "เห็นแจ้ง" ซึ่งต้องเห็นมากว่าหรือเห็นดีกว่า การเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม  ของสติปฏิปัฏฐาน 4 เพราะ  การเห็นในสติปัฏฐาน 4 เป็นการพิจารณาเห็นหรือตามเห็นเท่านั้น

ประการสุดท้าย ผมขอยกตัวอย่างตระกูลของกิเลสให้ดูว่ามีหลักๆ 21 ประการ ดังนี้






จากพระสูตรข้างต้น การมีสติสัมปชัญญะอย่างนั้น สามารถกำจัดได้แค่เพียง 3 กิเลสเบื้องต้น ซึ่งเป็นกิเลสที่มีอยู่ในกายมนุษย์นี้เท่านั้น ที่เหลืออีก 18 ตระกูล  ซึ่งเป็นกิเลสที่อยู่ในกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายพระโสดา กายพระสกิทาคามี และกายพระอนาคามี การมีสติสัมปชัญญะอย่างนั้นทำอะไรไม่ได้ครับ

กลับมาที่คำถามของคุณณัฐวร  ข้อแรกที่สงสัยในข้อความส่วนที่เป็น "สติ" ของพระสูตรนี้ โดยคุณณัฐวร มีข้อสงสัยดังนี้

ตามพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวถึงพระอริยะเจ้าหรือปล่าวครับ ผมมีความเห็นว่า สภาวะอย่างนี้ ไม่น่าจะเป็นสภาวะที่เกิดกับปุถุชน คนธรรมดาที่กำลังทำความเพียรอยู่

คำตอบ
ตรงนี้ผมไม่เข้าใจคำว่า "พระอริยะเจ้า" ของคุณณัฐวรว่า หมายถึง พระในระดับใดบ้าง

พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ พระอรหันต์นั้น พระพุทธเจ้าไม่ต้องสอนแล้ว เพราะ ท่านเรียนจบแล้ว  ถ้าเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี ก็คงไม่ต้องสอนมากแล้ว เพราะ เข้าใจดีไประดับหนึ่งแล้ว

และโดยปกติแล้ว สติปัฏฐาน 4 นั้น ความหมายก็คือ สติที่เป็นฐาน (แปลอย่างง่ายๆ)  ดังนั้น สติปัฏฐานคงมีไว้สำหรับสอนคนที่ยังมีความรู้ในทางศาสนาพุทธไม่มากนัก

ถ้าในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงประกาศศาสนาอยู่  ก็น่าจะเป็นคนที่บารมี 30 ทัศน์ไม่มากนัก  อาจจะเป็นคนในศาสนาอื่นๆ ที่เริ่มเข้ามาสนใจศาสนาพุทธ  เพราะ ถ้ามีบารมี 30 ทัศน์เต็มแล้ว  พระพุทธเจ้าตรัสแค่คำสองคำ ก็บรรลุพระอรหันต์แล้ว

อย่างในพระสูตรที่ยกมานั้น  พระพุทธเจ้าทรงสอนพระภิกษุอยู่ก็น่าจะเป็นพระภิกษุธรรมดา ไม่ใช่พระอริยะ

ข้อสงสัยข้อที่สอง เกี่ยวกับคำว่า สัมปชัญญะในข้อความของพระสูตรนี้  โดยคุณณัฐวร มีข้อสงสัยดังนี้

ตรงนี้ ตามความคิดเห็นของผม น่าจะเป็น สภาวะ สติปัฏฐาน 4 ซึ่งเกิดจากการเจริญสติที่ถูกต้อง และเป็นเหตุของมรรคผลต่อไป

คำตอบ
พระสูตรดังกล่าว พระพุทธเจ้าทรงแยกแยะให้เห็นชัดเจนว่า การมีสติกับการมีสัมปชัญญะแตกต่างกันอย่างไร  และสามารถกำจัดกิเลสใดได้บ้าง  เมื่อกำจัดกิเลสดังกล่าวไปแล้ว ก็ต้องมุ่งหน้าไปหัวข้อธรรมะหัวข้ออื่นที่สูงขึ้นต่อไป

ข้อสงสัยข้อที่สาม เกี่ยวกับคำว่า การเรียนยุบหนอพองหนอของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

ผมขอตอบเป็นข้อๆ ดังนี้

1) ผมบวชที่วัดอัมพวัน 1 พรรษา  ลงโบสถ์ทุกวัน ขาดไม่ได้  หลวงพ่อจรัลเป็นอุปัชฌาย์ ก็ลงมาสอนทุกวัน  ทั้งพรรษาที่ผมบวชนั้น  ผมไม่เคยได้ยินหลวงพ่อพูดอย่างนั้นออกจากปากหลวงพ่อเลย  ข้อมูลที่คุณณัฐวรได้มานั้น  เป็นข้อมูลที่เขียนโดยคนอื่น เป็นเอกสารชั้นรอง  ซึ่งชอบอ้างว่า เป็นคำพูดของหลวงพ่อจรัล

2) ก่อนที่พระมหาโชดกจะไปพม่านั้น หลวงพ่อสอนวิชชาธรรมกายมานานแล้ว  เฉพาะที่วัดมหาธาตุก็ไปสอนมาเป็นประจำ

พระมหาโชดกเดินทางไปศึกษาที่พม่าเพียง 9 เดือนก็กลับมาแล้ว  ในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ไม่ได้บอกด้วยว่า ภาษาพม่าหรือภาษาอังกฤษของพระโชดกเป็นอย่างไร  การศึกษาเพียง 9 เดือนนั้น ศึกษาได้ในระดับใด

นอกจากนั้นแล้ว ยังต้องส่งพระพม่าตามพระโชดกมาด้วยอีก 2 รูป  ในความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ  พระมหาโชดกเรียนไม่จบหลักสูตรหรอกครับ

จากหลักฐานตรงนี้   คุณณัฐวรคิดหรือว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำซึ่งเป็นเจ้าสำนัก  สอนมานานแล้ว จะต้องมาขอเรียนวิชายุบหนอพองหนอกับพระมหาโชดก

ขอแถมอีกหน่อยหนึ่ง เนื้อหาคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ได้เทศน์และสอนลูกศิษย์  ลูกศิษย์จัดทำเป็นหนังสือขึ้นอย่างน้อย 5 เล่ม ดังนี้

1. หนังสือคำเทศน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ 63 กัณฑ์
2. หนังสือทางมรรคผล 18 กาย
3. หนังสือคู่มือสมภาร
4. หนังสือวิชชามรรคผลพิสดาร 1
5. หนังสือวิชชามรรคผลพิสดาร 2

คุณณัฐวรลองไปหาอ่านดูก็แล้วกัน จะเห็นว่า เนื้อหาสาระแตกต่างจากหนังสือที่พระโชดกเขียนอย่างไม่รู้จะเปรียบกันยังไง

3) หลวงพ่อวัดปากน้ำเรียนสายยุบหนอพองหนอหรือไม่

เรื่องนี้เรียนจริง ไม่ใช่ว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำไปขอเรียนจากพระโชดก แต่เป็นเพราะ พระพิมลธรรม (อาจ) ซึ่งเป็นอาจารย์ของพระโชดก ผู้ส่งพระโชดกไปเรียนที่พม่า  เป็นพระผู้ใหญ่กว่า  ขอให้เรียน สำหรับสถานที่เรียนนั้น เรียนกันที่โบสถ์ในวัดปากน้ำ

มีหลักฐานจากทางวัดปากน้ำว่า เมื่อพระโชดกไปถึง หลวงพ่อวัดปากน้ำ ให้ไปสอนที่ในโบสถ์ แล้วปิดโบสถ์เลย  เหตุการณ์ข้างในรู้กันแค่หลวงพ่อวัดปากน้ำและพระโชดกเท่านั้น

4) หลักฐานที่ข้อเท็จจริง (fact) คือ ข้อเขียนที่ว่านี้

ให้สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุไว้ เป็นที่ระลึก ในโอกาสที่ฉันได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนาตามแบบแผนที่วัดมหาธาตุสอนอยู่ใน ปัจจุบันนี้แล้ว ยืนยันได้ว่า การปฏิบัติแบบนี้ ถูกต้องร่องรอยในมหาสติปัฏฐานสูตรทุกประการ

พระภาวนาโกศลเถระ
วัดปากน้ำ ธนบุรี
10 เมษา/พฤษภา 2497 (ตรงเดือนอ่านไม่ออก)

ข้อความที่ผมเน้นนั้นคือ ข้อความที่ว่า "ยืนยันได้ว่า"  แสดงว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น มีความรู้มากกว่า  เป็นผู้ที่รับรองของใหม่ซึ่งเข้ามา

หลวงพ่อวัดปากน้ำรับรองว่า การปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอถูกต้องร่องรอยของมหาสติปัฏฐาน 4 เพียงแค่นั้น

5) มีนักวิชาการอีแอบหลายคน ได้นำข้อความดังกล่าวไปชูประเด็นว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำเลิกสอนวิชชาธรรมกายแล้ว  ซึ่งเป็นความเท็จโดยสิ้นเชิง 

เพราะ จากหลักฐานไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เทป ลูกศิษย์ซึ่งยังมีชีวิตมาถึงปัจจุบัน  ต่างก็ยืนยันว่า  หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนวิชชาธรรมกายจนกระทั่งมรณภาพ

และในปัจจุบันนี้เองก็เป็นหลักฐานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะ สายยุบหนอพองหนอเรียวลงไปทุกวัน แต่สายวิชชาธรรมกายสามารถขยายผลการสอนได้กว้างขวางขึ้นทุกวัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น